อิฐบล็อก คุณภาพ ราคายุติธรรม ส่งตรงเวลา

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

1. วัสดุ ( Material )

ห้างหุ้นส่วนจากัดวงกลม เป็นผู้นำในการผลิตและจาหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกผนัง (Concrete Masonry Unit ) ภายใต้เครื่องหมายการค้า " WK – BLOCK " โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรชั้นสูงจาก BESSER ประเทศสหรัฐอเมริกา WK – BLOCK เป็นวัสดุก่อผนังคอนกรีต ที่ขึ้นรูปด้วยกาลังแรงอัดสูง (High Pressure Compression) และทาการบ่มด้วยห้องอบ (Curing room) เนื้อวัสดุ มีความแน่น แข็งแกรง โดยจะมีรูตรงกลาง เพื่อ เสียบเหล็กตามมาตรฐานการใช้งานต่อไป ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.57 – 2530 มอก.58 – 2533 จากสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ความหนา 7 , 9 ,14 และ 19 x19 x39 ซม. และได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.58 – 2516, มอก.59 – 2516 สาหรับผลิตภัณฑ์ ขนาด 7 x15 x30 ซม. มีคุณสมบัติที่สาคัญดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก มอก.57 – 2530 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้

  1. ความหนาของเปลือกและผนังกั้นโพรง (Face and web thickness) ต้องไม่น้อยกว่า 19 มม. (อิฐ9ซม.)
  2. ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength) ไม่น้อยกว่า 140 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
  3. การดูดกลืนน้า (Water Absorption) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร
  4. คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก ซึ่งต้องมีการฉาบปูนหรือแต่งปูน ต้องมีผิวหยาบพอควรแก่การจับยึดของปูนฉาบ หรือปูนแต่งได้ดี
  5. อัตราการทนไฟ (Fire Rating) ไม่ต่ากว่า 4 ชม. ( เพิ่มเติม จาก ASTM E119-95a)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก มอก.58 - 2533 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้

  1. ความหนาของเปลือกและผนังกั้นโพรง (Face and web thickness ) ต้องไม่น้อยกว่า 12 มม.
  2. ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength) ไม่น้อยกว่า 60 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
  3. การดูดกลืนน้า (Water Absorption) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต อิฐคอนกรีต มอก.59 – 2516 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้

  1. ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength ) วางอิฐทางแบน ไม่น้อยกว่า 140 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
  2. การดูดกลืนน้า ( Water Absorption ) ไม่เกิน 25 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้าหนัก มอก.60– 2516 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้

  1. ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength ) ไม่น้อยกว่า 125 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
  2. การดูดกลืนน้า ( Water Absorption ) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร

2. สัดส่วนการผสมปูน (Mortar Mixing)

คอนกรีตบล็อกวงกลม สามารถใช้ปูนก่อ – ฉาบผสมเอง หรือ สาเร็จรูปทั่วไป

  1. ปูนซีเมนต์ที่จะนามาผสมเอง ต้องใหม่ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ชื้น หรือเสื่อมคุณภาพ ปูนก่อ –ฉาบสาเร็จรูป คุณภาพต้องเป็นไปตามมาตรฐานผู้ผลิต
  2. ปูนก่อ – ฉาบให้ผสมตามอัตราส่วนผสมเป็นไปตามผู้ผลิตแนะนา เมื่อผสมปูนก่อ - ฉาบไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ห้ามนาส่วนผสมนั้นมาใช้งาน

3. การก่ออิฐผนังไม่รับน้าหนัก (Nonbearing wall Masonry)

  1. ทาความสะอาดให้พื้นที่สะดวกต่อการทางาน กาหนดแนวและ ระดับก่ออิฐ ขึงแนวเส้นเอ็นเพื่อช่วยให้ง่ายขึ้น
  2. วางปูนทรายขนาดกว้าง 6 ซม.สูง 10 ซม. เป็นฐานของคอนกรีตบล็อก หนาประมาณ 7 ซม. เพื่อช่วยปรับระดับ พื้นให้ได้ระนาบเดียวกันแล้วเริ่มก่อบล็อกก้อนแรกโดยคว่าด้านหน้าลง หงายส่วนด้านล่างบล็อกขึ้น ใช้ค้อนยาง และระดับน้าช่วยจัดให้ได้แนว และระดับที่ถูกต้อง
  3. ใช้เกรียงก่ออิฐตัดปูนก่อป้ายลงด้านข้างของก้อนแรกโดยลากจากด้านล่างขึ้นจนเต็มก้อน ความหนาปูนก่อ ประมาณ 0.5 - 1 ซม. และวางก้อนที่ 2 ให้ชิดกับก้อนแรก ปรับระดับด้วยเกรียงก่อและระดับน้าแล้วก่อต่อไปด้วย วิธีเดียวกันจนเสร็จแนวก่อชั้นแรก
  4. เริ่มก่อชั้นที่ 2 โดยใช้เกรียงก่อเคาะบล็อกป้ายปูนก่อลง ด้านบนของบล็อกชั้นแรก แล้วยกบล็อกชั้นที่ 2 วางทับ ลง ไป ใช้เกรียงก่อเคาะปรับระดับ ให้แนวรอยต่อเยื้องสลับกัน แล้วก่อชั้นต่อไป ด้วยวิธีเดียวกันจนเสร็จ การก่อ ควรได้ระดับและแนวดิ่งด้วย
  5. บล็อกก้อนที่ชนกับเสาโครงสร้าง ต้องเจาะเสียบเหล็กยึดรอยต่อผนังยึดติดกับเสาทุก ความสูง 60 ซม. ด้วยเหล็ก Ø9 มม. ยาว 40 ซม.ให้ยื่นออกจากเสา 30 ซม. โดยใช้วัสดุEpoxy
  6. ผนังก่อที่มีวงกบประตู – หน้าต่าง ต้องหล่อเสาเอ็นทับหลับ ค.ส.ล ไม่เล็กกว่า 10 ซม. เสริมเหล็ก Ø9 มม. 2 เส้น เหล็กปลอก Ø6 มม. ระยะห่าง 20 ซม. ใช้ส่วนผสมปูนซิเมนต์ 1 ส่วน ต่อทรายหยาบ 2 ส่วนต่อหินเกล็ด 4 ส่วน โดย ปริมาตร
  7. ผนังที่ก่อชนคาน ค.ส.ล หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องเว้นช่องไว้ประมาณ 10 ซม. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน จึงจะทาการก่อชนท้องคานหรือท้องพื้นได้ หากเป็นระบบที่มีการแอ่นตัวเป็นพิเศษ เช่นแผ่นพื้นระบบ Post Tensioned เว้นช่องว่างประมาณ 4- 5 ซม.แล้วแล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น โฟม
  8. การก่อบล็อกที่ผนังมุมก่อมาบรรจบกัน อาจก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) โดยเสริมเหล็กแผ่นตะแกรง ขนาด 300 มม. (Metal lath over joint) ระหว่างชั้นทุกระยะความสูง 60 ซม.

4. การฉาบปูน (Render)

  1. ผนังที่ก่อใหม่ ต้องไม่กระทบกระเทือน หรือรับน้าหนักเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน
  2. ควรทิ้งให้ผนังก่ออิฐแห้งตัวก่อนอย่างน้อย7 วันก่อนทาการฉาบ
  3. เตรียมพื้นผิวให้สะอาด ราดน้าให้ผนังชุ่ม เพื่อไม่ให้ดูดน้าจากส่วนผสมปูนฉาบเร็วเกินไป
  4. ส่วนผสมของน้าจะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน ไม่เปียกหรือแห้งเกินไป ควรปฏิบัติ ตามคาแนะนาของผู้ผลิต ปูนฉาบ
  5. พรมน้า ให้ส่วนพื้นที่ฉาบเปียกทั่วกันและทาการฉาบปูน กรณีฉาบปูนหนา 1 ซม. ใช้อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อ ทรายละเอียด 3 ส่วน (1:3) กรณีฉาบปูนหนามากกว่า 1.5 ซม. ให้แบ่งฉาบเป็นรองพื้น (1:3) และฉาบแต่งใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ 1 ต่อปูนขาว 2 ส่วน ต่อทรายละเอียด 6 ส่วน (1:2:6)
  6. บ่มผิวปูนฉาบเสร็จใหม่ให้มีความชื้นตลอดเวลา 72 ชั่วโมง พรมน้า และป้องกันไม่ให้ถูกแดดโดยตรง เพื่อ ป้องกัน การแตกร้าว เนื่องจากการระเหยน้าอย่างรวดเร็วของผิวปูนฉาบ

5. ข้อควรระวัง/ ข้อแนะนำ

  1. ตาแหน่งประตูหน้าต่าง จะต้องมีเสาเอ็น – ทับหลัง พื้นที่การก่อมากกว่า 10 ตารางเมตรต้องมีเสาเอ็นและทับหลัง
  2. รอยต่ออิฐด้วยปูนก่อ ควรมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันคือ 1 - 1.5 ซม.
  3. การก่ออิฐปิดใต้ท้องคานจะต้องทิ้งช่วงไว้ 3 วัน แล้วจึงก่อปิด
  4. กรณีที่ต้องฉาบมากกว่า 2 ซม. อาจเนื่องมาจากเสา หรือผนังล้มนิ่ง จะต้องฉาบทีละชั้น ความหนา 1 - 1.5 ซม. ต่อชั้นโดยปูนเค็มจัด เพื่อให้ปูนฉาบแห้ง และก่อตัวได้เร็ว
  5. ถ้าต้องการฉาบหนา ตั้งแต่ 5 ซม. จะต้องกรุตระแกรงกรงไก่ไว้เป็นชั้นๆ ด้วย
  6. สเปรย์น้าที่ผนังปูนฉาบติดต่อกันอีก 2 - 3 วัน (โดยเฉพาะผนังภายนอก)
  7. ผนังก่อเว้นช่อง (Cavity wall masonry) โดยก่อแยกอิฐเป็นสองแถวเว้นช่องว่างตรงกลางเอาไว้ ผนังก่อจะเชื่อมยึด กันด้วยเหล็กยึดรูปตัว Z -ขนาด Ø-3/16" ห่างจากขอบปูน ≥ 5/8" แล้วอุดด้วยปูน ผนัง มีคุณสมบัติดีเลิศในเรื่อง ผนังเป็น ฉนวนกันความร้อน ทึบเสียง และป้องกันน้าซึมเข้ามาภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
  8. ผนังวัสดุก่อรับน้าหนัก สามารถที่จะออกแบบก่อสร้างแบบไม่เสริมเหล็ก แบบเสริมเหล็กบางส่วน หรือเสริมเหล็กตามรูปแบบ ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมือนกับผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเสริมที่เสริมให้กับผนังวัสดุก่อจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังในการต้านทานการโก่งเดาะ (buckling) และแรงกระทาด้านข้างจากลมหรือแผนดินไหว ความแข็งแรงของผนังวัสดุก่อเสริมเหล็กจะขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนียว (bond develop) ระหว่างเหล็กเสริมกับปูนและอิฐคอนกรีต
  9. รอยต่อเผื่อแตก ผนังก่อคอนกรีตบล็อกจะเกิดการหดตัวหลังจากปูนก่อแห้งตัวแล้ว ทาให้เกิดรอยแตกขึ้นตามผนัง ควรเสริมเหล็กเพิ่มที่รอยต่อแนวนอน และกาหนดตาแหน่งของรอยต่อเผื่อแตกให้ถูกต้อง นอกจากนั้นบริเวณซึ่งมีความแข็งแรงน้อย หรือบริเวณที่ผนังมีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัด ซึ่งได้แก่
    - 1. บริเวณที่ความสูง หรือความหนาของผนังมีการเปลี่ยนแปลง
    - 2. บริเวณเสา เสาโปนและบริเวณที่ผนังมาชนกัน
    - 3. บริเวณใกล้มุมผนัง
    - 4. ทั้งสองข้างช่องเปิดที่มีความกว้างมากกว่า 180 ซม.
    - 5. ถ้ากว้างน้อยกว่า 180 ซม.ให้ใส่รอยต่อด้านเดียว
    รอยต่อเผื่อแตก จะต้องอุดด้วยวัสดุอุดรอยต่อให้สนิท เช่น ปูนมอร์ตา โดยที่รอยต่อจะต้องมีความต้านทานต่อแรงกระทาด้านข้าง รอยต่อระหว่างผนังรับน้าหนักกับโครงสร้างเหล็ก หรือ โครงสร้างคอนกรีต จะต้องเป็นรอยต่อแบบรอยต่อเผื่อแตก
  10. รอยต่อเผื่อขยาย ผนังวัสดุก่อจะเกิดการหดตัวและขยายตัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น ทาให้ต้องแก้ไขด้วยการแยกผนังออกจากกัน ด้วยรอยต่อเผื่อขยายทุกๆระยะ 3.75 เมตร ตามความยาวของผนัง และบริเวณรอยต่อระหว่างส่วนยื่นของผนังรูปตัว U , L และ ตัว T รอยต่อเผื่อขยาย จะต้องอุดด้วยวัสดุอุดรอยต่อให้สนิท โดยยอมให้ผนังขยายตัวได้ในแนวระนาบของผนัง
  11. ในการก่อ ผนังเสริมเหล็ก เหล็กเสริมแนวดิ่งฝั่งอยู่ในช่องที่กรอกคอนกรีตจนเต็ม เหล็กเสริมแนวนอน มีระยะทาบ ของเหล็กเสริม ไม่น้อยกว่า 60 ซม.
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค
อิฐ บล็อก อิฐบล็อก บล็อค อิฐบล็อค